ไปที่หน้าเวบนานาไบโอ

ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง (Light reaction)

 

๐ การถ่ายทอดอิเล็คตรอนแบบเป็นวัฎจักร ๐
(Cyclic electron transfer)

        การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร เกิดจาก อิเล็กตรอนในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์เอ (Chlorophyll a) ในระบบแสง I (P700) ดูดกลืนพลังงานแสงเป็นผลให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากโมเลกุล 2e- เพื่อลดระดับพลังงานของ 2e- จึงมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนไปตามตัวรับอิเล็กตรอน บริเวณเยื่อไทลาคอยด์ (Thylakoid membrane)

       โดยสารที่มารับอิเล็กตรอนเป็นตัวแรกคือ เฟอริดอกซิน (Ferredoxin : Fd) จากนั้น ส่งอิเล็กตรอนต่อให้กับ Cytochrome b6f complex  ในขณะส่งอิเล็กตรอนมายังไซโทรโครมb6fคอมเพล็กซ์ มีการเคลื่อนย้ายโปรตรอน (H+)จากสโตรมาเข้าสู่ลูเมน เป็นผลให้เกิดความแตกต่างของความเข้มข้นของโปรตอนระหว่างลูเมนกับสโตรมา เมื่อมีการสะสมโปรตอนในลูเมน มากขึ้น (pH ในลูเมนลดลง:อ้างอิงจากหนังสือ สอวน.)  เกิดแรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายโปรตอนออกสู่สโตรมา ผ่านทาง ATP synthase ซึ่งแรงผลักดันจากการเคลื่อนย้ายของโปรตอนจะถูกนำไปสร้าง ATP จาก ADP รวมกับ กลุ่มฟอสเฟต เรียก ปฏิกิริยานี้ว่า โฟโตฟอสโฟริเลชั่น (Photophosphorylation) อิเล็กตรอนจะถูกส่งจาก Cytochrome b6f complex ไปยัง ตัวรับอิเล็กตรอนตัวถัดไปคือ พลาสโทไซยานิน (plastocyanin) (PC) จากนั้นอิเล็กตรอนจะถูกส่งคืนให้กับ ระบบแสง I (P700) จะเห็นได้ว่าการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้นอย่างเป็นวัฎจักร โดยเริ่มส่งอิเล็กตรอนจาก P700 มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอน และสุดท้ายอิเล็กตรอนก็กลับมายัง P700 เช่นเดิม ช่นเดิม

จงตอบคำถามเกี่ยวกับการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร
1. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดขึ้นที่บริเวณใดของคลอโรพลาสต์
2. ปฏิกิริยา Photophosphorylation เกิดขึ้นที่บริเวณใดของคลอโรพลาสต์
3. ผลผลิตจากการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรคือ

หัวข้อถัดไป

๐ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร

๐ ใบกิจกรรมการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสง


 

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา

เอกสารอ้างอิง

หนังสือรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เล่ม 3 ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551